วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ก่อน-หลังเจาะ ปฏิบัติตัวอย่างไร

     โพสที่แล้วเจ้าของบล็อคได้อธิบายถึงชนิดตำแหน่งการเจาะที่หูไปแล้วนะคะ สัปดาห์นี้จะมาบอกว่าก่อนเจาะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หลังเจาะแล้วควรทำความสะอาดแผลอย่างไร อาหารแสลงมีผลต่อแผลจริงไหม


     เตรียมตัวอย่างไรในวันไปเจาะ.....



     สิ่งที่ควรทำ
  •      ถ้าเป็นไปได้ควรโทรนัดช่างไว้ก่อนเพื่อความสะดวก
  •      นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  •      กินอาหารมื้อก่อนหน้าให้เรียบร้อย
  •      ทำความสะอาดบริเวณที่ไปเจาะด้วย จะได้ไม่อายเขา อิอิ
  •      ถ้าเจาะปาก คาง จมูก หรือบริเวณนั้น ควรโกนหนวดและกำจัดสิวเสี้ยนออกเสียก่อนด้วย
  •      ถ้าเจาะหู ควรทำผมที่เหมาะกับการเจาะในบริเวณมา จะได้ไม่เป็นปัญหาหลังเจาะ
  •      ถ้าเจาะตามร่างกายก็ควรแต่งตัวให้เหมาะกับการเจาะบริเวณนั้นๆ ไม่รุ่มร่าม ไม่เกี่ยว
  •      ถ้ากินยาบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ควรงดก่อนอย่างน้อยหนึ่งมื้อก่อนหน้านั้น

     สิ่งที่ไม่ควรทำ
  •      ไม่ควรเจาะในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะสัมผัสจะไวขึ้น อาจทำให้รู้สึกเจ็บกว่าปกติ
  •      อย่าอดอาหารมื้อก่อนหน้า
  •      ไม่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ก่อนหน้าการเจาะอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  •      อย่าทาครีมในส่วนที่ต้องการเจาะ ปล่อยให้ผิวเกลี้ยงตามธรรมชาติจะดีกว่า
  •      อย่าใส่จิลหรือตุ้มหูที่อาจขัดขวางการเจาะบริเวณใกล้เคียง



     การดูแลทำความสะอาดแผลหลังเจาะ

     
     อย่าใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดแผลเจาะทุกส่วนอย่างเด็ดขาด!

     เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อสูง มันจะทำลายเนื้อเยื่ออ่อนตรงแผลของเราด้วยและยิ่งทำให้แผลยิ่งคงสภาพความเป็นแผลไว้ตลอดไม่หายสักที เพราะมันกัดแผลอยู่แล้วนั่นเอง ถ้าใช้แค่ตรงlobeหรือติ่งหูนั้นยังไม่เท่าไหร่ แต่ห้ามเด็ดขาดกับcartilageทุกส่วน รวมไปถึงพวกไฮโดรเจนเพอร์ออกไซต์ ยาหม่อง แซมบัค บัวหิมะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ห้ามเด็ดขาดเลยนะคะกับสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด การทำความสะอาดแผลที่ถูกวิธีควรทำอย่างนี้ค่ะ

     การทำความสะอาดที่ถูกวิธี

     การทำความสะอาดแผลเจาะที่ถูกวิธีควรใช้แค่สบู่ anti-bacteria เท่านั้นก็พอแล้ว โดยฟอกเป็นฟองแล้วทำความสะอาดบริเวณแผลทุกครั้งหลังอาบน้ำ สระผม ล้างหน้า ทิ้งไว้3-5นาทีเพื่อให้แผลเข้าถึงอย่างทั่วกัน ในช่วงแรกไม่ต้องสัมผัสแผลโดยตรง แต่เืมื่อแผลแห้งเริ่มเข้าที่แล้ว ก็เริ่มขยับจิลให้น้ำสบู่เข้าไปถึงข้างใน การทำความสะอาดอย่างนี้เป็นการทำความสะอาดแผลโดยตรงที่สุด ช่วยทำให้คราบหนองหลุดออกได้ง่ายขึ้น
     
     ที่ต้องใช้สบู่ anti-bacteria ก็เนื่องจากมันทำความสะอาดเชื้อโรคได้ดีกว่า และต้องเลือกสูตรธรรมดาที่สุดเท่านั้น พวกที่มีกลิ่น ผสมมอยซ์เจอไรเซอร์พวกนั้นไม่ต้องซื้อมาค่ะ
     
     ในตอนแรกที่แผลยังสดอยู่มาก ช่วง3-4วันแรก ไม่ควรแตะต้องอะไรมันเลย อย่าไปจับไปคลำไปหมุนอะไรทั้งสิ้น หลังจากนั้นถึงค่อยเริ่มขยับเพื่อทำความสะอาดแผลได้อย่างทั่วถึง แม้ช่วงแรกจะรู้สึกตึงขยับแล้วไม่เจ็บ แต่ไม่เจ็บก็ไม่ได้แผลว่าไม่กระทบกระเทือน ดังนั้นควรรอให้แผลเซ็ตตัวดีก่อนถึงขยับได้

     ในประเทศไทย สบู่anti-bacteria ที่ค่าสูตรเป็นกลาง ผสมอะไรต่อมิอะไรน้อยที่สุดแล้วก็น่าจะเป็นสบู่ Protex hand soap สูตร family



   
     กำจัด bump หรือ bubble อย่างไร


     bump หรือ bubble ที่ว่า มันคือตุ่มที่งอกออกมาจากแผลเจาะ บางคนอาจเรียกว่าคีลอยล์ เป็นอาการที่เนื้อมันเจริญเติบโตไปตามปกติ หลังจากที่ร่างกายเกิดแผล เนื้อจะมีการงอกออกมาเพื่อปิดแผลที่ว่า ถ้าเราทำความสะอาดไม่ถูกวิธีหรือไม่เพียงพอ ไม่ขยับหรือยุ่งกับมันมากจนเกินไป ก็สามารถเกิดขึ้นได้และอยู่เรื่อยๆ


     ในช่วงแรกเราอาจรู้สึกเจ็บหรือคัน แต่มันไม่มีอันตรายใดๆกับร่างกาย แค่ทำให้แผลดูไม่สวยเท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ควรไปบีบหรือแกะมันอย่างเด็ดขาด อาจทำให้เชื้่อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเล็บและนิ้วมือได้

     การกำจัด bubble ออกไปคือการใช้คัตตอนบัตแต้มน้ำมัน tea tree oil ให้พอเหมาะ แล้วทาตรงบริเวณที่เป็น ทาแค่อาทิตย์ละ 2-3 หนก็พอ ไม่งั้นแผลจะแห้งจนเกินไป วิธีนี้ต้องอาศัยเวลาและความอดทน มันจะค่อยๆยุบลงไปภายใน 3 เดือน สามารถใช้ได้กับ bubble จากทุกส่วนของร่างกายค่ะ




     
     จำเป็นต้องใส่ก้านกระเทียมหรือเปล่า


     หนึ่งในความเชื่อเรื่องการเจาะหูของคนไทยที่มีมานานมากๆคือ ใครที่เจาะบริเวณlobe ต้องเหลาก้านกระเทียมให้เล็กแล้วใส่ที่รูเจาะเพื่อป้องกันหูหนองหูเน่า แต่บางรายใส่แล้วก็ยิ่งเน่า แผลยิ่งแฉะไม่แห้งไม่หายสักที ช่างเจาะหลายๆคนจากต่างประเทศก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องการใส่ก้านกระเทียมเลยว่าจะช่วยให้แผลดีขึ้นจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เราไม่ควรเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อให้แผลให้มากยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็น หากเราทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี ก็ไม่จำเป็นต้องหาอะไรอย่างอื่นมาใส่ที่หูเราให้มากมาย


     อาหารแสลงทั้งหลายแหล่
     ไม่มีของแสลงสำหรับคนเพิ่งเจาะหูมาค่ะ อยากกินอะไรก็กินโลด แผลจะเน่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับการรักษาความสะอาดของเราทั้งนั้น ต่างชาติเขาเจาะกันมาแล้วไม่เป็นอะไร กินอะไรได้เราก็กินได้ทั้งนั้นค่ะ ไม่ว่าจะไข่ ข้าวเหนียว ส้มตำ ยำ ของดอง ซัดให้เรียบค่ะ


     สิ่งที่ควรทำความสะอาดเพิ่มเติม
  •      ควรซักและเปลี่ยนปลอกหมอนทุกสัปดาห์เพื่อความสะอาด หรือจะหาผ้าอย่างอื่นที่ซักแล้วมาปูทับปลอกหมอนอีกทีก็ได้
  •      ควรทำความสะอาดหวีด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับแผลแล้วติืดเชื้อ
  •      ทำความสะอาดผ้าเช็ดผมและผ้าเช็ดหน้าเช่นกัน
  •      พยายามตัดเล็บมือให้สั้น เพราะเราต้องใช้มือทำความสะอาดแผลตลอด จะได้ไม่เป็นแหล่งหมกหมมของเชื้อโรค

     นานแค่ไหนกว่าแผลจะหาย
     อันนี้ก็เป็นเรื่องของแต่ละคนนะคะ ส่วนใหญ่แผลเจาะที่lobeจะหายไวที่สุดเพราะมีแค่เนื้อ อยู่ที่ระยะเวลา 6-8 สัปดาห์แผลก็แห้งสนิทแล้ว แค่ล้างแผลด้วยสบู่anti-bacteriaวันละสองครั้งแผลก็จะหายในเร็ววันแล้ว หากใครใช้เวลาเกินกว่านี้แล้วแผลยังไม่แห้งยังไม่หาย ก็อย่าเพิ่งไปโทษของแสลงค่ะ ย้อนดีตัวเองก่อนเลยว่าเจาะมาอย่างถูกต้องไหม ล้างแผลอย่างถูกวิธีไหม
     ส่วน cartilage แผลจะหายช้ากว่าเพราะเป็นการเจาะที่กระดูกอ่อน ใช้เวลาอยู่ที่ 3เดือนไปจนถึง 1ปี แต่สุดท้ายก็อยู่ที่แต่ละคนนะคะ บางคนแค่เดือนกว่าๆก็หายแล้ว แค่ต้องหมั่นทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธีเท่านั้น


     เปลี่ยนตุ้มหูหรือจิลได้เืมื่อไหร่
     เมื่อแผลหายก็เปลี่ยนได้เลยค่ะ หากเป็นการเจาะที่lobeก็สามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้เลยเพราะไม่มีอะไรซับซ้อนมาก แต่หากเป็นการเจาะบริเวณอื่นควรให้ช่างเปลี่ยนให้ดีกว่า ช่างจะได้ให้คำแนะนำในการเปลี่ยนครั้งต่อไปได้ด้วย


     ทำความสะอาดตุ้มหูหรือจิลอย่างไร
     ไม่มีอะไรยากค่ะ แค่ใช้สบู่ตัวเดียวกับที่ใช้ล้างแผลมาแช่ไว้สัก 10-15 นาทีก็พอ วิธีนี้ใช้ได้กับเครื่องประดับอย่างอื่นได้ด้วยนะคะ


     ข้อควรระวัง
  •      ไม่ควรใช้ cotton ball หรือสำลีใช้ทำความสะอาดแผลเด็ดขาด เพราะใยของมันอาจไปติดแผลได้ ไม่เหมือน cotton bud ที่ปลายแหลมกว่าผิวสัมผัสน้อยกว่าเลยส่งผลกระทบต่อแผลน้อยกว่า
  •      ระมัดระวังการสระผมหรือหวีผม รวมถึงการเข้าร้านทำผมด้วย ควรบอกช่างทำผมก่อนว่าเราเพิ่งไปเจาะหูมา เพื่อเขาจะได้ระมัดระวังมากขึ้น
  •      ถ้าไมจำเป็น ในช่วงสองสัปดาห์แรกอย่าเพิ่งไปสระว่ายน้ำรวมหรือซาวน่ารวม เพราะที่เหล่านี้มีเชื้อโรคแอบแฝงอยู่ทุกที อย่าเสี่ยงเป็นดีกว่า


     และข้อที่อยากให้ระวังในการเจาะที่สุดนะคะ คือ เจาะด้วยปืนนั้นอันตราย เนื่องจากปืนนั้นผู้เจาะไม่สามารถกะแรงได้ สามารถก่อความกระทบกระเทือนต่อแผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว คุณคงไม่อยากเสี่ยงสักกับเครื่องใช่ไหมละคะ เช่นเดียวกัน การเจาะคือศิลปะอย่างหนึ่ง ควรเจาะด้วยมือคนเท่านั้น หากจะเจาะด้วยปืนจริงๆ อนุโลมให้ที่lobeอย่างเดียวพอค่ะ นอกจากนั้นห้ามอย่างเด็ดขาด ข้อทิ้งท้ายมีเท่านี้นะคะ การเจาะไม่มีอะไรน่ากลัวค่ะหากคุณดูแลแผลอย่างถูกวิธี



Credit : เทเลทับขี้ Q12023304

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Piercing Type

     เนื่องจากเจ้าของบล็อคเป็นคนที่มีความชื่นชอบในเรื่องการเจาะ เจาะมาก็หลายครั้งหลายหน จากหลายๆที่ ก็อยากจะเสนอความรู้เกี่ยวกับการเจาะ โดยสัปดาห์นี้จะมาอธิบายถึงประเภทของการเจาะแต่ละแบบ แต่จะอธิบายเฉพาะการเจาะบริเวณหูก่อน เพราะดูแล้วจะเป็นการเจาะที่แพร่หลาย เชื่อว่าใครหลายๆคนต้องผ่านการเจาะหูมาบ้าง มาเริ่มกันเลย


      จริงๆแล้วการเจาะหูไม่มีรูปแบบตายตัว การเจาะที่ใหม่ๆสามารถเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ ภาพนี้เป็นเพียงตำแหน่งที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป ส่วนที่เจาะเนื้อบริเวณติ่งหูคือตำแหน่งJและKเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการเจาะผ่านกระดูกอ่อนทั้งสิ้น



A. Helix or Rim

     เป็นการเจาะในส่วนcartilage ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เป็นการเจาะผ่านกระดูกอ่อนบริเวณใบหู สำหรับคนที่กล้าน้อยหน่อยก็อาจเจาะเฉพาะเนื้อ ซึ่งเป็นการเจาะที่ค่อนข้างอันตรายเนื่องจากมันสามารถหลุดออกมาได้ ทำให้หูแหว่งไปเลยก็มี โดยทั่วไปช่างอาจเจาะให้โดยใส่ตุ้มหูแบบstud(ตุ้มหูปกติ)ไปก่อน หลังจากแผลหายค่อยเปลี่ยนมาใส่แบบห่วงทีหลัง ขนาดควรอยู่ระหว่าง 18-16 gauge ไม่ควรให้ใหญ่ไปกว่านั้น


B. Industrial or Scaffold

     ชื่อไทยคือดามหูนั่นเอง แบ่งได้เป็น2แบบคือ ดามแบบแนวแทยงและแบบที่เป็นแนวตรงมาจากติ่งหู ทั้งสองแบบจะใช้barbellแบบยาว ควรเลือกให้พอดี เพราะหากสั้นเกินไปจะทำให้แผลบวมและรั้งจนเจ็บได้ การดูแลรักษาก็จะยากสักหน่อยเพราะมีแผลสองแผล




C. Dermal Punch
   
     คล้ายกับลักษณะเจาะตอกตราไก่ มันไม่ใช่การเจาะรูเล็กธรรมดา แต่รูจะมีขนาดใหญ่ การเจาะจะใช้เครื่องมือลักษณะเป็นแท่งกลวงที่มีขอบเป็นใบมีดกดลงไปที่ใบหู


   

D. Forward Helix

     ไม่ต่างจากการเจาะแบบ helix เพียงแต่ย้ายตำแหน่งมาไว้ที่ใบหูด้านหน้า



E. Snug

      เจาะในตำแหน่งตามรูป กระดูกบริเวณนี้จะหนากว่าบริเวณhelix เวลาเจาะอาจจะเจ็บกว่า



F. Rook
 
     บริเวณนี้มีความหนาพอๆกับsnug แต่จะทำความสะอาดได้ยากกว่า ทั้งยังเกิดbubbleได้ง่ายด้วย



G. Conch or Shell

     เป็นจุดที่ใกล้กับsnug แต่จะเจาะถึงข้างหลังหูเลย


H. Anti-Tragus

     ส่วนใหญ่จะนิยมในกลุ่มผู้ชาย ดูแลรักษาไม่ยากแต่ลำบากในการใช้หูฟัง


I. Tragus

     แบบนี้ก็เป็นที่นิยมในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่เจาะกัน มีความเชื่อกันว่าการเจาะบริเวณนี้จะทำลายประสาทตา ซึ่งไม่เป็นความจริง อาจมีผลกระทบแค่การสวมใส่หูฟังเท่านั้น ดังนั้นควรเพิ่มการระมัดระวังในจุดนี้

    ไม่ควรใช้ตุ้มแบบปีกผีเสื้อเจาะ ควรใช้แบบbarbellที่ด้านหลังเป็นหมุนๆจะดีกว่า ไม่เกะกะด้วย



J. Lobe

     เป็นการเจาะหูตำแหน่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก ส่วนใหญ่จะเริ่มเจาะจากจุดนี้เป็นที่แรก และเป็นจุดที่นิยมstretching(ขยาย) การเจาะที่ถูกต้องที่สุดคือการเจาะด้วยเข็มกลวงที่ปลายแฉลบ ไม่ใช่ปืน ใช้จิลแบบbarbellตัวเล็กสำหรับแผลใหม่ แต่หลังจากหายแล้วตุ้มหูที่นิยมใช้กันก็จะมีทั้งแบบstud, ring หรือแบบตะขอเกี่ยว


K. Transverse lobe

     เป็นการเจาะติ่งหูในแนวขวาง จะเป็นลักษณะขวางแบบไหนก็แล้วแต่บุคคล แต่จะเป็นการเจาะเข้าไปในเนื้อ คือไม่เห็นก้านโผล่ออกมาด้านนอก เห็นแค่หมุดกลมสองอันเท่านั้น

     

L. Daith

     ตำแหน่งจะอยู่ต่ำจาก forward helix มานิดหน่อย ความหนาของกระดูกไม่ต่างกันมาก



     

     การเจาะมากๆไม่จำเป็นต้องดูน่ากลัวหรือเถื่อนเสมอไป การเลือกเครื่องประดับ ทั้งรูปแบบและสีสันให้เข้ากัน ก็สามารถทำให้การเจาะดูสวยขึ้นได้



 นี่ก็คือทั้งหมดของ piercing type นะคะเจ้าของบล็อคก็ไม่มีอะไรจะอัพแล้ว อิอิ อาทิตย์หน้าจะมาพูดถึงการดูแลรักษาแผลหลังเจาะ รอติดตามด้วยนะ ^^


Credit : คุณ เทเลทับขี้ จาก pantip Q12252059